ANURAK TANYAPALIT
Without the faculty of forgetting, our past would weigh so heavily on our present that we should not have the strength to confront another moment, still less to live through it. Life would be bearable only to frivolous natures, those in fact who do not remember.
Emil Michel Cioran, The Trouble With Being Born, 1973.
From December 4, 2016, to January 15, 2017, the tick-tocks and rings of sixty-one clocks have invaded the office of the Asian Culture Station (ACS). Displayed on bookshelves, the first sixty of the alarm clocks of this site-specific installation by Anurak Tanyapalit transform the usually quiet art space’s atmosphere into something more disturbing, more engrossing…From the still life tradition of Vanitas to the artworks of Joseph Kosuth (1945- ) or Christian Marclay (1955- ), time and its symbols appear regularly in works of art, and thus it comes as no surprise to find them again in this installation.
Anurak Tanyapalit’s choice of the clock as his key motif was not by chance, as his installation revisits the Enlightenment philosophers’ exploration of Isaac Newton’s idea (1642-1726) of the giant clock as a metaphor for society. Newton believed that until the basic laws governing the machine were grasped, the giant clock would never operate as it should. Anurak Tanyapalit confirms that even now, the machinery fails to function properly because no one fully understands the machinery itself. For Anurak, regardless of its various causes, the world around us is full of suffering. As a Buddhist, Anurak knows this state of affairs is nothing strange, given the Four Noble Truths of Buddhism; dukkha - which refers to suffering - is the first truth. Whoever tries to attain Nirvana must accept and adhere to the way of the three following truths: the cause of suffering, the end of suffering, and the path that frees us from suffering.
Inside each of the sixty alarm clocks, Anurak depicts via pencil drawing technique internet images which illustrate sixty catastrophic events. Whether natural disasters (the tsunami in Thailand or the earthquake in Nepal), devastations of war (the atomic bombings of Hiroshima and Nagasaki), or terrorist attacks such as Charlie Hebdo in France, each of the sixty rings of the sixty clocks reminds us of the exact timing of tragic events that caused not only the death of many and created suffering for the wounded, but also led to mourning and missing among those who remain through the aftermath. This medium – the black, white, and grey of paper and pencil lead – makes an even bolder allusion to ash and deaths’ depiction. Anurak Tanyapalit’s installation is sober and somber. This feeling is found again in the final sixty-first clock that, rather than an alarm clock, is simply a painted wall clock where numbers are erased, where everything is white, awaiting the next disaster…
Text by Sébastien Tayac
“หากปราศจากความสามารถในการลืมไปเสียแล้ว น้ำหนักของอดีตย่อมกดทับปัจจุบันจนไม่สามารถทานทนต่อสถานการณ์ใด ๆ เบื้องหน้าได้อีก ซึ่งนั่นยังคงน้อยเกินกว่าจะอยู่รอดต่อไป ชีวิตคงสามารถรับมือได้แต่เฉพาะเหตุอันเบาความหาแก่นสารอันใดมิได้ ที่กล่าวมานี้เป็นข้อเท็จจริงสำหรับผู้ปฏิเสธความทรงจำ”
Emil Michel Cioran, The Trouble With Being Born, 1973.
เสียง ติ๊ก-ต็อก, ติ๊ก-ต็อก และสำเนียงกระดิ่งของนาฬิกาทั้ง ๖๑ เรือนได้บุกเข้ายึดครองชั้นหนังสือ ในสำนักงาน Asian Culture Station (ACS) ตั้งแต่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๙ จนถึง ๑๕ มกราคม ๒๕๖๐ ทั้งหมดนั้นเป็นศิลปะจัดวางในพื้นที่เฉพาะ ของ อนุรักษ์ ธัญญะปาลิต ศิลปินผู้มาเปลี่ยนสถานที่อันแสนสงบเงียบตามบรรยากาศของพื้นที่แสดงงานศิลปะ โดยก่อกวนให้ตื่นตัวและดึงดูดความสนใจผู้มาใช้สถานที่ ...จากงานศิลปะที่เกี่ยวกับความไม่เที่ยงของชีวิต (vanitas ) มาจนถึงผลงานของ Joseph Kosuth หรือ Christian Marclay ได้แสดงให้เห็นถึงเครื่องหมายของเวลามากมาย ปรากฏในผลงานศิลปะเหล่านั้น ซึ่งก็ไม่เป็นที่น่าประหลาดใจมากนัก หากเราจะได้พบเห็นในผลงานชุดนี้เช่นกัน
ช่วงเวลา (นาฬิกา) ที่ อนุรักษ์ ธัญญะปาลิต เลือกมาใช้ในงานนั้น ไม่ได้เลือกโดยมีแม่บทมาจากช่วงเวลาแห่งโอกาส กลับกันงานศิลปะจัดวางชุดนี้ของเขาชักชวนให้กลับไปสู่ทัศนะของนักคิดคนสำคัญในยุคเรืองปัญญา อย่าง Isaac Newton (ค.ศ.1642 – ค.ศ.1726) ที่เคยอุปมาว่า เวลาหรือนาฬิกา คือเครื่องจักรขนาดยักษ์สำหรับสังคม จนกระทั่งเราถูกปกครองด้วยกฎหมายพื้นฐานของรัฐ เจ้าจักรกลเครื่องนี้ก็ถูกควบคุมและไม่เคยปฏิบัติงานได้ดังเดิมอีกเลย อนุรักษ์ ธัญญะปาลิต ยืนยันว่าแม้ในปัจจุบัน กลจักรทางเวลานี้ก็ยังคงล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง เพราะปราศจากผู้ที่สามารถเข้าใจเจ้าเครื่องจักรได้เท่าตัวมันเอง และโดยไม่คำนึงถึงว่าจะเกิดจากเหตุนานัปการอันใด สำหรับ อนุรักษ์ แล้ว โลกรอบตัวเรานั้นเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน ในฐานะของพุทธมามกะ เขามองว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนไม่ใช่เหตุประหลาดอันใดเลย มันคือข้อแรก ในความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการของพระพุทธศาสนา คือ “ทุกข์” - ซึ่งหมายถึงความทรมานหรือทนได้ได้ยาก – เป็นความจริงประการแรก ที่ผู้หวังจะถึงซึ่งนิพพานเป็นการบรรลุ ต้องยอมรับข้อนี้เสียก่อน และดำเนินตนตามอริยสัจอีก ๓ ข้อที่เหลือ คือ : สมุทัย-เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์, นิโรธ-ความดับทุกข์ ได้แก่การดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์, และ มรรค-การปฏิบัติที่นำไปสู่ดับทุกข์
บนพื้นหลังของนาฬิกาปลุกจำนวน ๖๐ เรือน ศิลปินได้วาดภาพประกอบไว้ด้วยดินสอ พื้นหลังแต่ละเรือนแสดงภาพเหตุร้ายต่าง ๆ ทั้งภัยพิบัติจากธรรมชาติ (คลื่นยักษ์สึนามิที่ประเทศไทย หรือแผ่นดินไหวในประเทศเนปาล) ,หายนะจากภัยสงคราม (ระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น) หรือการก่อการร้ายอย่างเหตุการณ์ “ชาร์ลี เอ็บโด” (Charlie Hebdo ) ที่ประเทศฝรั่งเศส นาฬิกาทั้ง ๖๐ เรือน ถูกตั้งปลุกไว้อย่างแม่นยำ อ้างอิงตามเวลาเกิดเหตุอันโศกสลด แต่ละครั้งที่เสียงของนาฬิกาปลุกดังขึ้น ไม่ได้เตือนใจให้ระลึกถึงเฉพาะความสูญเสียจำนวนมากในเหตุการณ์เหล่านั้น และร่องรอยบาดแผลอันทุกข์ทรมาน แต่ยังหมายถึงผลพวงจากการผ่านเรื่องราวสุดเลวร้าย และความอาวรณ์ถึงผู้จากไปของเหล่าผู้เหลือรอด การใช้สื่อกลางอย่าง สีขาว ,ดำ ,และเทา จากกระดาษและดินสอ ช่วยขับเน้นพรรณนาถึงเถ้าถ่านและความตาย ผลงานชุดนี้ของ อนุรักษ์ ธัญญะปาลิต ทั้งสร่างคลายและหม่นมืด โดยเฉพาะในนาฬิกาเรือนที่ ๖๑ ซึ่งดูจะเป็นมากกว่านาฬิกาปลุก คล้ายกับนาฬิกาแขวนผนังธรรมดา ที่ไม่ปรากฏตัวเลขใด ๆ ทุกอย่างในนั้นล้วนขาวโพลน ราวกับจะตั้งตาคอยหายนะครั้งถัดไป
บทความต้นฉบับโดย Sébastien Tayac
แปลบทความเป็นภาษาไทยโดย ตฤณ พูลทรัพย์
Equinoctial
Anurak Tanyapalit's installation, displayed at the Asian Culture Station, features sixty-one clocks, each showcasing a pencil drawing of an internet image depicting a catastrophic event, from natural disasters to terrorist attacks. The clocks serve as a reminder of the exact timing of tragic events that caused death and suffering. The medium of pencil and paper alludes to ash and death, creating a somber and sober atmosphere. The final clock is a painted wall clock with erased numbers, symbolizing the anticipation of the next disaster. Tanyapalit's installation revisits Enlightenment philosophers' exploration of the clock as a metaphor for society, questioning whether the machinery of the world around us is truly understood.
การติดตั้งของอนุรักษ์ ธัญญปาลิต ที่แสดงที่สถานีวัฒนธรรมเอเชีย ประกอบด้วยนาฬิกา 61 ตัว แต่ละตัวแสดงภาพวาดด้วยดินสอของภาพอินเทอร์เน็ตที่เล่าเรื่องเหตุการณ์ที่สร้างความหวาดกลัว เช่น ภัยธรรมชาติ และการโจมตีของผู้ก่อการร้าย นาฬิกาแต่ละตัวเป็นการเตือนให้จำเวลาที่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายที่สร้างความตายและความทุกข์ยาก สื่อสารถึงความตายและความมืดมัวของเหตุการณ์ นอกจากนี้การใช้ดินสอและกระดาษเป็นสื่อเหล่านี้ยังเกี่ยวข้องกับเปลวไฟและความตาย ทำให้เกิดบรรยากาศที่มืดมัวและเศร้าสลด นอกจากนี้ นาฬิกาสุดท้ายเป็นนาฬิกาผนังที่ทาสีแล้วลบตัวเลขออก แทนความคาดหวังของเหตุการณ์เลวร้ายต่อไป การติดตั้งของอนุรักษ์ ธัญญปาลิต ใช้เครื่องมือแสดงให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ของปรัชญาสมัยสุคนธสัมพันธ์ในความสัมพันธ์ระหว่างนาฬิกาและสังคม และสอบถามว่าเราจริงๆ เข้าใจการทำงานของเครื่องจักรของโลกรอบตัวเราหรือไม่